28 กุมภาพันธ์ 2554

ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


วันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันที่ประชาชนชาวไทยจะร่วมกันรำลึกถึงพระมหากรุณาคุณของมหาราชพระองค์หนึ่งในแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นผู้กอบกู้เอกราชชาติไทยกลับคืนหลังจากการเสียกรุงครั้งที่สอง คือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"

กษัตริย์องค์แรกและองค์เดียวในสมัยแผ่นดินกรุงธนบุรี ซึ่งวันที่ 28 ธ.ค. นั้นเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี

ร่องรอยประวัติศาสตร์ที่พระองค์ท่านทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ "ตามรอย" ซึ่งหลายๆที่ก็ได้กลายเป็นสถนทีท่องเที่ยวที่สำคัญ


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่วัดเชิงท่า หรือวัดโกษาวาส จ.อยุธยา


สถานที่แรกที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มในชีวิตของพระเจ้าตากก็คือ วัดเชิงท่า ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้เป็นที่ที่พระเจ้าตากได้เริ่มเล่าเรียนเขียนอ่านจนเชี่ยวชาญภาษาต่างๆ นอกจากภาษาไทย เช่น ภาษาจีน ญวน และบาลี

และเมื่ออายุครบบวช ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดแห่งนี้ ก่อนจะลาสิกขาไปรับราชการที่เมืองตาก ที่วัดเชิงท่านี้ยังมีรูปเหมือนของพระอาจารย์ทองดี ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าตาก ให้คนได้มาสักการะอีกด้วย


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก


ที่จังหวัดตาก ท่านได้เป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่ระยะหนึ่ง มีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งเป็นศาลทรงจัตุรมุข ด้านหน้าศาลแขวนโคมจีนสีแดง ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย

ในพระราชอิริยาบถที่กำลังประทับอยู่บนราชอาสน์ มีพระแสงดาบพาดอยู่ที่พระเพลา ด้านหลังศาลจะมีรูปปั้นช้างศึกม้าศึกอยู่เต็มบริเวณ ซึ่งได้มาจากผู้ที่นำมาถวายหลังจากขอพรจากศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ตามประสงค์ รวมทั้งยังมีวัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือวัดพระเจ้าตาก ซึ่งเป็นที่บรรจุอังคารของบิดามารดาของท่าน


พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณทุ่งนาเชย อำเภอเมืองจันทบุรี


จังหวัดจันทบุรี นับว่าเป็นอีกเมืองที่มีความเกี่ยวข้องผูกพันกับพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีสถานที่ที่เป็นที่ระลึกถึงท่านอยู่มากมาย เช่น ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในตัวเมืองจันทบุรี ศาลนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2463 เป็นศาลทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุข

และต่อมาใน พ.ศ.2534 ชาวจันทบุรีก็ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างศาลใหม่ขึ้นมาตั้งอยู่ข้างศาลเดิม เป็นรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลายอดแหลม ภายในมีพระบรมรูปของพระเจ้าตากประทับนั่งอยู่

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณทุ่งนาเชย อำเภอเมืองจันทบุรี มีรูปลักษณะพระบรมรูปทรงม้าพระที่นั่งออกศึก ทรงเครื่องกษัตริย์นักรบ รอบพระบรมรูปเป็นทหารคนสนิท 4 คน คอยอารักขาทั้งสี่ด้าน

และพระบรมราชานุสาวรีย์ อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ค่ายตากสิน เป็นพระบรมรูปอยู่ในท่าทรงพระแสงดาบบัญชาการรบ ส่วนในบริเวณปากแม่น้ำจันทบุรีก็เชื่อว่าเคยเป็นอู่ต่อเรือของพระเจ้าตาก เนื่องจากพบเรือสำเภาโบราณ และเรือขุดโบราณสมัยพระเจ้าตากอยู่บริเวณนั้น



พระราชวังเดิม


เมื่อพระเจ้าตากกู้เอกราชคืนจากข้าศึกได้แล้วนั้น ก็มาตั้งราชธานีใหม่อยู่ที่ "เมืองทณบุรีศรีมหาสมุทร" ที่แห่งนี้ท่านได้สร้างพระราชวังของท่านไว้ซึ่งอยู่บริเวณป้อมวิไชยประสิทธิ์และกองทัพเรือ

จนเมื่อถึงยุคแผ่นดินรัตนโกสินทร์ เมืองหลวงได้ย้ายมาอยู่ทางฝั่งพระนคร พระราชวังของพระเจ้าตากลดความสำคัญลง เป็นส่วนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ และกลายเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี ภายหลังได้เรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังเดิม"

และในสมัยของรัชกาลที่ 5 ท่านได้พระราชทานพระราชวังเดิมแห่งนี้ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ

ส่วนโบราณสถานที่ยังคงเหลืออยู่ก็คือ ท้องพระโรงสมัยกรุงธนบุรีที่พระเจ้าตากสินเสด็จออกว่าราชการ พระตำหนักเก๋งคู่ ซึ่งหลังในเป็นที่บรรทมของพระเจ้าตากสิน

รวมทั้งยังมีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในท่าประทับยืน และทรงพระแสงดาบ ขนาดประมาณเท่าครึ่งของพระองค์จริงอีกด้วย


นอกจากพระราชวังเดิมแล้ว ก็ยังมี วัดอินทารามวรวิหาร ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระเจ้าตาก ซึ่งท่านเคยเสด็จมาประทับแรมเพื่อทรงนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ทรงศีลภาวนา จนเมื่อท่านเสด็จสวรรคตลง ก็ได้ประดิษฐานพระบรมศพ ถวายพระเพลิง และบรรจุพระบรมอัฐิไว้ที่วัดแห่งนี้

ปัจจุบันประชาชนนิยมไปสักการะพระบรมรูปจำลองของสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งแท่นบรรทม ซึ่งพระองค์เคยใช้เป็นที่ประทับ ภายในวัดมีพระเจดีย์คู่หนึ่งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า

เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าตากและพระอัครมเหสีไว้ ส่วนในพระอุโบสถหลังเก่า มีพระพุทธรูปปางตรัสรู้เป็นพระประธาน ภายในบรรจุพระบรมราชสรีรังคาร หรือ เถ้ากระดูกของพระองค์


พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ วงเวียนใหญ่



นอกจากพระราชวังเดิมแล้ว ก็ยังมี วัดอินทารามวรวิหาร ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพระเจ้าตาก ซึ่งท่านเคยเสด็จมาประทับแรมเพื่อทรงนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ทรงศีลภาวนา จนเมื่อท่านเสด็จสวรรคตลง ก็ได้ประดิษฐานพระบรมศพ ถวายพระเพลิง และบรรจุพระบรมอัฐิไว้ที่วัดแห่งนี้

ปัจจุบันประชาชนนิยมไปสักการะพระบรมรูปจำลองของสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งแท่นบรรทม ซึ่งพระองค์เคยใช้เป็นที่ประทับ ภายในวัดมีพระเจดีย์คู่หนึ่งอยู่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า

เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าตากและพระอัครมเหสีไว้ ส่วนในพระอุโบสถหลังเก่า มีพระพุทธรูปปางตรัสรู้เป็นพระประธาน ภายในบรรจุพระบรมราชสรีรังคาร หรือ เถ้ากระดูกของพระองค์


สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในฝั่งธน ก็คืออนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินบริเวณวงเวียนใหญ่ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระบรมราชกฤษฎาอภินิหารแห่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


ช่วงเวลา 15 ปี ที่พระเจ้าตากสินทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในแผ่นดินธนุบรี เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชนชาวไทยตลอดมา หากท่านทรงมีญาณรับรู้ก็คงจะทราบว่า ประชาชนชาวไทย ยังคงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านอยู่เสมอ...ตลอดมา

26 กุมภาพันธ์ 2554

รูปครอบครัวรวีภัคพงศ์ (สายปัญสุทธิ์)

คำหมากของหลวงปู่ สายอ.บุญลือ คำมี

ของขวัญที่ทางท่านอาจารย์ลือชัย คำมี

ของขวัญที่ทางท่านอาจารย์ลือชัย คำมี
1.สีผึ้ง 1 ตลับ
2.หมากและมวลสารจากประเทศอินเดีย
3.หมากและพูล


ปฎิบัติธรรมพิเศษกับอาจารย์ลือชัย คำมี ที่โรงแรมมารวย








ปฎิบัติธรรมพิเศษกับอาจารย์ลือชัย คำมี ที่โรงแรมมารวย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 8.00 -17.30 น

20 กุมภาพันธ์ 2554

การบริจาคทานของท่านอาจารย์ทองทิพย์ โอภาโส




ประวัติการศึกษากับพระอาจารย์ต่างๆของทานอาจารย์ทองทิพย์ โอภาโส

ด้วยความสนใจในเรื่องของการปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่อายุประมาณ ๑๑-๑๒ ปี (ประถมปลายในสมัยก่อน ท่านชอบเข้าไปสนทนาธรรมกับพระธุดงค์เสมอ (ชอบขอให้พระธุดงค์สอนสมาธิให้)พระอาจารย์องค์แรก (ที่มีชิวิตเลือดเนื้อ ท่านเป็นพระอาจารย์นิรนาม ท่านให้เรียกท่านว่า หลวงปู่จักรวาล ท่านอาจารย์ทองทิพย์ได้วิชาความรู้ จากหลวงปู่จักรวาลเมื่อตอนอายุประมาณ ๑๕ ปี ซึ่งมาปักกลดอยู่ในป่าบริเวณพระราชวังพระศรีสรรเพชร (ที่มีพระเจดีย์ใหญ่ ๓ องค์ตั้งอยู่) ที่ตั้งอยู่ในเกาะเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา สมัยก่อนนั้นที่บริเวณนี้จะเต็มไปด้วยป่า มีต้นไม้ขึ้นรกชัฏ กรมศิลปกรยังไม่ได้เข้าไปบูรณะ พระธุดงค์มักจะเมข้ามาปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่บ่อยๆ เพราะเงียบสงบ ไม่มีผู้ใดมารบกวน ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ความเจริญเข้ามาแล้วธรรมชาติก็สูญหายไปหมด ช่างน่าเสียดายเสียจริงๆ หลวงปู่จักรวาลท่านเป็นพระภิกษุที่มีลักษณะราศรีดีมาก แม้จะแก่แต่ท่านดูแข็งแรง ดวงตาเต็มไปด้วยประกาย แห่งความเมตตา มีเสียงก้องกังวาน มีอำนาจประหลาด อายุของท่านประมาณเกือบจะ ๗๐ปีได้ หรืออาจจะมากกว่า(ถ้านับ อายุท่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ อายุท่านก็ไม่น่าจะน้อยกว่า ๑๐๓ปี ขึ้นไป หรือมากกว่านี้ก็ได้ เพราะท่านไม่ยอมเปิดเผย)
หลวงปู่จักรวาล ท่านได้ถ่ายทอดวิชา ประกาศิตพระร่วงเจ้า ให้

องค์ต่อมาคือ ท่านหลวงพ่อฤาลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หลวงพ่อท่านเมตตาสอนวิชชา มโนมยิทธิ ให้แก่ท่านอาจารย์ จนสำเร็จเมื่อตอนอายุประมาณ ๒๐ ปี ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๒๒

องค์ถัดมาคือ ท่านพระครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านได้สอนพระกรรมฐานให้ในครั้งที่ท่านพระครูลงมาที่ วัดบุปผาราม เชิงสะพานพุทธ เป็นกรณีพิเศษ โดยให้ท่านอาจารย์นั่งฝึกกับท่านที่กุฏิตลอดคืน นอกกจากนั้น เป็นครูบาอาจารย์ที่ไม่สามารถจะจับต้องตัวได้ ซึ่ง ท่านอาจารย์ไม่ต้องการให้นำมากล่าวเพราะเกรงจะเป็นการอวดอ้างเกินไปผู้ที่ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรับรู้ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตน

ท่านอาจารย์ ได้ผ่านการปฏิบัติธรรมมาแล้วหลายแบบ เช่นอาณาปานสติภาวนา (ตั้งแต่ท่านอายุ ๑๑-๑๒ ปี)แบบเพ่งกสิณ (ตั้งแต่ท่านอายุ ๑๕ ปี) วิชกาธรรมกาย (ตั้งแต่ท่านอายุ ๑๕ ปี) ยุบหนอ พองหนอ (ตั้งแต่ ท่านอายุ ๑๗ ปี)มหาสติปัฏฐาน ๔ (ตั้งแต่ท่านอายุ ๑๙ ปี) และวิชชาอื่นๆ (มิสามารถนำมาเปิดเผย ณ ที่นี้ได้)

ปัจจุบันท่านอาจารย์ อายุกว่า ๕๐ ปีแล้ว รวมผ่านประสบการณ์การปฏิบัติธรรมมาแล้ว มากกว่า ๔๐ ปี ได้พบเห็นสิ่งต่างๆ นับมิถ้วนจึงจะปล่อยวางแทบจะทั้งหมดแล้ว(เพราะท่านอาจารย์รู้สึกเบื่อในโลกนี้เสียเกิน )

ปฎิบัติธรรมกับอาจารย์ทองทิพย์ โอภาโส ครั้งที่1/2554 วันที่ 20 ก.พ.54 เวลา 9.00-12.00 น





ปฎิบัติธรรมกับอาจารย์ทองทิพย์ โอภาโส ครั้งที่1/2554 วันที่ 20 ก.พ.54 เวลา 9.00-12.00 น ชั้น 9

1.เตรียมร่างกาย ชุดขาว + ดอกไม้ บูชาครู พาที่นั้นมี

หากปฎิบัติธรรม 1 ปี แล้วถูกกับจริของตน ก็ให้มารับขันต์ 5 เตรียม 1.ดอกไม้ จำนวน 5 สี , 2.เงิน 9 บาท 3.ทองปิดองค์พระแท้ 100 % จำนวน 9 แผ่น 4.ข้าวสารจำนวน 1 ถุง 5.ธูปเทียนแพ 1 ชุด

2.เตรียมจิตใจให้พร้อมกับการปฎิบัติธรรม ระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง

3.ฟังธรรม ในการบรรยาย ให้ลูกศิลย์ได้ รับรู้วิธีการ การรักษาศิล การทำความดี คุณธรรม และประเทศชาติสงบ ร่มเย็น ยิ่งๆขึ้นไป

4.บทสวดท่านอาจารย์จะนำสวดให้ ร่วมถึง ขั่นตอนต่างๆ จนกระแผ่เมตตา อุทิศกุศล บุญให้เจ้ากรรมนานเวรทั้งหลาย

05 กุมภาพันธ์ 2554

บทสวด มงคลจักรวาลน้อย พร้อมคำแปล


บทสวด มงคลจักรวาลน้อย พร้อมคำแปล

สัพพะพุทธานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สัพพะธัมมานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สัพพะสังฆานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง

พุทธระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง, ด้วยอานุภาพแห่งรัตนะ ๓
ติณณังรัตตะนานัง อานุภาเวนะ, คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพ แห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน
ปิตะกัตตะยานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฏก
ชินะสาวะกานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชินเจ้า

สัพเพ เต โรคา, สรรพโรคทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต ภะยา, สรรพภัยทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต อันตะรายา , สรรพอันตรายทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต อุปัททะวา, สรรพอุปัทวะทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต ทุนนิมิตตา ,สรรพนิมิตต์ร้ายทั้งหลายของท่าน
สัพเพ เต อะวะมังคะลา, สรรพอวมงคลทั้งหลายของท่าน
วินัสสันตุ, จงพินาศไป

อายุวัฑฒะโก , ความเจริญอายุ
ธะนะวัฑฒะโก, ความเจริญทรัพย์
สิริวัฑฒะโก ,ความเจริญสิริ
ยะสะวัฑฒะโก, ความเจริญยศ
พะละวัฑฒะโก ,ความเจริญกำลัง
วัณณะวัฑฒะโก, ความเจริญวรรณะ
สุขะวัฑฒะโก , ความเจริญสุข
โหตุ สัพพะทา, จงมี (แก่ท่าน) ในกาลทั้งปวง

ทุกขะโรคะภะยา เวรา, ทุกข์ โรค ภัย และเวรทั้งหลายโสกา
สัตตุจะปัททะวา, ความโศก ศัตรู และ อุปัททวะทั้งหลาย
อะเนกา อันตะรายาปิ , ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นเอนก
วินัสสันตุ จะเตชะสา, จงพินาศไปด้วยเดช
ชายะสิทธิ ธะนัง ลาภัง, ความชนะ ความสำเร็จ ทรัพย์ ลาภ
โสตถี ภาคะยัง สุขังพะลัง, ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ , สิริ อายุ และ วรรณะ
โภคัง วุฑฒี จะยะสะวา, โภคะ ความเจริญ และ ความเป็นผู้มียศ
สะตะวัสสา จะ อายุ จะ, และอายุยืน ๑๐๐ ปี
ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต, และความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่จงมีแก่ท่าน

คลังบทความของบล็อก